The International Maew Boran Association
สโนว์แมวเปลี่ยนชีวิต
ประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้ว ด้วยความที่เป็นคนที่รักแมวตั้งแต่เด็ก ชอบไปเล่นไปอุ้มแมวทุกครั้งที่เห็นแมว ในวันนั้นมีนัดสัมภาษณ์งาน บ่ายโมง เลยแวะทานข้าวเที่ยงก่อน หันไปเจอลูกแมวอายุ 2 เดือน เดินขากระเพก หมัดเต็มตัว ตาแฉะ สงสารน้องมาก ยกเลิกนัดสัมภาษณ์งาน จับแมวใส่กระเป๋าสะพายกลับบ้านเลย ดูแลรักษาจนหายดี
เริ่มหางานใหม่อีกครั้ง ได้งานที่บริษัท บุญเติม ใกล้บ้านมาก เป็นงานสายการตลาดไม่ใช่ด้านที่เราจบมา แต่โชคชะตานำพาให้เรามางานนี้ บุญเติมขยายตัวเร็วมากๆ ช่วงนั้น จนได้มาเปิดบริษัทกับครอบครัว ขายตู้บุญเติม ร่วมกับบริษัทใหญ่ หลังจากนั้นเริ่มสงสัยในแมวที่ตัวเองเลี้ยง บ่นกับสโนว์เสมอว่า "เธอเป็นแมวเทวดาหรอ เปลี่ยนชีวิตฉันจากหน้ามือเป็นหลังมือ" จากคนไม่มีเงิน กลายเป็นมีบริษัทเป็นของตัวเอง ชีวิตเราเปลี่ยนมาเรื่อยๆ หลังจากสโนว์มาอยู่ด้วย
เราจึงค้นหาสายพันธุ์ของเค้าใน google จนรู้ว่าน้องเป็นขาวมณี สโนว์เป็นแมวสีขาวล้วน สวยมากๆ พอรู้เรื่องขาวมณีแล้ว ก็เริ่มศึกษาแมวไทยสายพันธุ์อื่นๆ เรื่อยมา จริงจังถึงขั้นไปหอสมุดแห่งชาติประมาณ 1 ปี เพื่อนั่งศึกษาตำราแมว และไปวัดหลวงหลายแห่ง เพื่อไปขอตำราจากเจ้าอาวาส จากนั้นได้เขียนจดหมายขออนุญาต จากสมเด็จพระสังฆราชสมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหลวงวชิรญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถร) ที่วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เพื่อขอดูตำราสมุดข่อยแมวโบราณ และได้รับอนุญาต และต่อมาทาง TIMBA ได้ค้นพบภาพวาดฝาผนัง วัดโพธิ์ ที่หอไตรกรมสมเด็จพระปรมานุชิตโนรส ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดทราบเกี่ยวกับภาพวาดฝาผนังแมวไทยโบราณมาก่อน ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ สำคัญมากๆ ที่ทำให้ทางเราหันมาอนุรักษ์แมวไทยอย่างจริงจัง เนื่องจากแมวไทยเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาอย่างช้านาน และใช้ในราชพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พิธีราชมณเฑียร
ต่อมาทางเราได้ไปพูดคุยกับฟาร์มแมวไทยต่างๆ ไปขอความรู้เพิ่มเติมจากท่าน คือ คุณลุงชูชัย ชูชัย วิเศษจินดาวัฒน์ กำนัน ปรีชา พุคคะบุตร และ คุณลุงปรีชา วัฒนา ท่านทั้ง 3 นี้คือบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์แมวไทย จนวันหนึ่ง ทางเราก็ได้พบแมวสีน้ำตาลแดง สีนี้ไม่เคยเห็นมาก่อนจึงได้เริ่มค้นคว้าเอกสารต่างๆ ตำราแมวไทย ซึ่งก็พบว่า เป็นแมวศุภลักษณ์ที่หายากมากและสูญพันธุ์ไปแล้ว ในตำราเขียนลักษณะแมวศุภลักษณ์ไว้ว่า
ตาดั่งทับทิมแสง เล็บขนแดงบ่แปดปน ได้ลูกย่อมเกิดผล ทั้งค้าขายอีกเงินทอง เลี้ยงไว้ให้สำราญ
อยู่ไปนานจะเรืองรอง ท้าวไทยท่านจักปอง ยศศักดิ์ให้เป็นเสนา
เราตั้งชื่อว่า “อโยธยา” เป็นแมวศุภลักษณ์ที่มีลักษณะถูกต้องตามตำรา ขนลำตัวสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว หนวดสีทองแดง ตาเหลืองส้มเหมือนสีพระอาทิตย์ ฝ่าเท่าชมพูอมส้ม เราจึงเก็บน้องตัวนี้เป็นต้นแบบแมวศุภลักษณ์ จึงมีการเริ่มเก็บเนื่อเยื่อกระพุ้งแก้ม เพื่อส่งไป Lab ในสหรัฐอเมริกา และได้รับผลจาก Lab จึงทราบถึงรหัส DNA สีขนของแมวตัวนี้ คือยีนแมวสีช็อกโกแลต
เมื่อ อโยธยา เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็ได้ประกาศหาคู่ในพันธ์ทิปแต่ก็ไม่มีตัวไหนลักษณะเหมือนอโยธยา ต่อมาจึงได้ติดต่อไปที่ศูนย์อนุรักษ์แมวไทยโบราณที่สุมทรสงคราม ได้มอบอโยธยาให้ลุงกำนันปรีชา พุคคะบุตร เพื่อให้ท่านขยายพันธุ์แมวศุภลักษณ์ เพราะท่านเป็นผู้ริเริ่มการทำแมวศุภลักษณ์ในขณะนั้น ท่านได้นำ อโยธยา ผสมกับแมวสีน้ำตาลที่ท่านมีอยู่ ลูกแมวออกมาเป็นแมวดำทั้งหมด ทางเราจึงรับอโยธยากับมาพร้อมแม่แมว และลูกแมว และเลี้ยงเด็ก ๆ เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
เรามีความพยายามที่จะขยายพันธุ์แมวศุภลักษณ์ต่อ จึงไปเยี่ยมลุงปรีชา วัฒนา แมวไทยบางรัก และนำอโยธยา มาให้ท่านดู คุณลุงพูดว่าตั้งแต่ผมเลี้ยงแมวไทยมายังไม่เคยเห็นสีนี้มาก่อนเลย เป็นแมวที่มีเสน่ห์ สวย ดูลึกลับมากๆ เราจึงมอบอโยธยาให้ท่านช่วยขยายพันธุ์ต่อ ดีใจมากๆ ที่ท่านให้โอกาสกับเรา ร่วมกันอนุรักษ์แมวศุภลักษณ์
ช่วงนั้นคุณลุงปรีชาก็เริ่มหาคู่มาผสมกับอโยธยา ท่านได้แมวเพศเมียมาจากคุณสุพัฒน์ เกศสุวรรณ แมวไทยหนองแขม ซึ่งลักษณะ ลำตัวสีน้ำตาล
มีแต้มเข้ม 9 จุดเหมือนแมววิเชียรมาศ ตาสีเหลือง ต่างประเทศเรียกสายพันธุ์นี้ว่า แมวเบอร์มิส (มียีนสีช็อกโกแลต) ซึ่งต่อจากนี้เราจะตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ เรียกแมวพันธนีุ้์ว่า ศุภโชค ซึ่งมีลักษณะคล้ายแมวศุภลักษณ์มากๆ จึงเกิดความเข้าใจผิดกันว่าเป็นแมวสายพันธุ์เดียวกัน แต่ที่จริงแล้วคนละสายพันธุ์กัน ซึ่งในตอนนั้นก็่เข้าใจผิดคิดว่าแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลผสมกันได้หมด แต่เป็นความโชคดีของเราแม่แมวเบอร์มิสตัวนี้มียีน สีช็อกโกแลตซ่อนอยู่ จึงสามารถเกิดลูกแมวออกมาเป็น สีดำครึ่งหนึ่ง ศุภลักษณ์ครึ่งหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นแมว ศุภลักษณ์คอกแรกเลยก็ว่าได้ ต่อมาได้มีคุณเอ๋ คุณเต๋า บ้านแมวไทยรับทรัพย์แมวศุภลักษณ์ นำแมวเบอร์มิส เพศเมียมาผสม ก็ได้ลูกออกมาดำหมด เพราะแท้จริงแล้วศุภลักษณ์กับเบอร์มิส เป็นแมวคนละสายพันธุ์กัน ผสมกันแล้วจะได้ลูกดำทั้งหมด นอกเสียจากว่าเบอร์มิสตัวนั้นมียีนสีช็อกโกแลต หลังจากนั้นเราก็ผสมผิดผสมถูกเรื่อยมา
เราก็ช่วยกันศึกษาเรื่อง DNA ในแมวศุภลักษณ์จริงจังมากยิ่งขึ้น จนต่อมาทางคุณลุงปรีชา วัฒนา ได้ติดต่อ ผศ.สพ.ญ.ดร.จันทร์จิรา ภวภูตานนท์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ และคุณเอ๋ นายสรายุทธ พิบูลนิธิเกษม เข้ามาร่วมวิจัยแมวศุภลักษณ์ร่วมกับเรา จนได้ลูกหลานแมวศุภลักษณ์จนถึงทุกวันนี้ ร่วมแรง ร่วมใจกันหลายฝ่ายจนประสบความสำเร็จถึงทุกวันนี้ แต่เนื่องจากแมวมีน้อยตัว ตอนนี้เรายังอยู่ที่ 2 เจนเนเรชั่น ในเวลา 5 ปี
เราเริ่มก่อตั้ง TIMBA สมาคมแมวไทยโบราณนานาชาติ จุดประสงค์แรกเพื่อรองรับการจดทะเบียนแมวศุภลักษณ์ เพราะแมวสายพันธุ์นี้ไม่เคย จดทะเบียนที่ไหนมาก่อนทางเราเริ่มเผยแพร่เรื่องแมวศุภลักษณ์ให้ต่างชาติได้รับรู้ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางกับแมวสายพันธุ์นี้ ต่อมาทางเราก็เริ่มมีการจัดประกวดแมวไทยสายพันธุ์อื่น และรับลงทะเบียน ทำใบเพ็ดดีกรีแมวไทยทุกสายพันธุ์ สำรวจประชากรแมวไทยเพื่อการอนุรักษ์แมวไทย
อย่างจริงจัง TIMBA ก็จะเริ่มวิจัยแมวสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยนอกเหนือจากแมวศุภลักษณ์ ก็จะเป็นแมววิ
Home
เอกสารสมาคม
View on Mobile